NASA เผยภาพ ‘ดวงอาทิตย์ยิ้ม’ ต้อนรับวันฮาโลวีน

NASA เผยภาพ ‘ดวงอาทิตย์ยิ้ม’ ต้อนรับวันฮาโลวีน

น่ารักรับวันฮาโลวีน นาซ่า (NASA) เผยภาพ ดวงอาทิตย์ยิ้มแฉ่ง ที่นาน ๆ จะเห็นได้ครั้งหนึ่ง เผยเป็นผลจากหลุมโคโรนาล จากลมสุริยะ เมื่อวันที่ 28 ตุลาคม 2565 นักดาราศาสตร์จาก นาซ่า (NASA) ได้เผยแพร่ภาพของ ดวงอาทิตย์ยิ้มแย้มแจ่มใส ท่ามกลางแสงจ้าทำเอาคนที่เลื่อนผ่านฟีดมาเห็นเป็นต้องยิ้มตาม โดย Twitter @NASASun ภาพที่น่าทึ่งนี้เผยให้เห็นว่าดวงอาทิตย์ดูสดใสในทางบวกมากกว่าหนึ่งวิธี

แน่นอนว่า ‘รอยยิ้ม’ 

ที่เราเห็นในที่นี้ไม่ใช่รอยยิ้มที่แท้จริง ที่เรากำลังดูอยู่คือ หลุมโคโรนาล (หย่อมมืด) ซึ่งเกิดจากการที่ลมสุริยะที่พัดกระหน่ำอย่างรวดเร็ว และพุ่งออกสู่อวกาศ มักเกิดปรากฏการณ์นี้ท่ามกลางความผันผวนของดวงอาทิตย์ที่กำลังแผดเผ่า โดยหลุ่มโคโรนาล 2 หลุ่มดูเหมือนดวงตาที่กระพริบ ในขณะที่หลุมที่ 3 กลับคล้ายกับรอยยิ้มที่ดูลงตัวอย่างน่าประหลาด

สิ่งที่เกิดขึ้นจริงที่นี่คือปรากฏการณ์ของ Pareidolia ซึ่งเราจินตนาการว่าเห็นสิ่งต่าง ๆ เช่น ใบหน้าในรูปจินตนาการจากความทรงจำ เป็นกลลวงของจิตใจ เฉพาะครั้งนี้เท่านั้นที่มีการเล่นในระดับที่น่าทึ่งและมีขนาดเท่าดวงอาทิตย์ ตามที่ผู้ใช้ Twitter บางคนสังเกตเห็น หน้าตาของดวงอาทิตย์ที่นี่ไม่เพียงแต่ดูเหมือนใบหน้าที่ยิ้มแย้มเท่านั้น แต่ยังมีความคล้ายคลึงกับโครงร่างใบหน้าของวายร้ายในตำนานของ Ghostbusters อย่าง The Stay-Puft Marshmallow Man

นั่นทำให้ชาวเน็ตหลายคนรู้สึกเอ็นดูในความน่ารักของดวงอาทิตย์นี้มาก ยิ่งปรอบกับช่วงเทศกาลฮาโลวีน ก็ทำให้ ดวงอาทิตย์ยิ้ม ในครั้งนี้กลายเป็นไวรัลในที่สุด ถึงขนาดที่มีคนบอกว่า “บางครั้งรอยยิ้มที่ไม่คาดคิดก็เพียงพอที่จะเปลี่ยนวันธรรมดาของคุณให้เป็นวันที่สุดใสได้”

อีกหนึ่งความสำเร็จที่เกี่ยวข้องกับอวกาศก็ว่าได้กับการเปิดเผย ภาพถ่ายจักรวาล ที่ถ่ายจากกล้องดูดาวอวกาศ เจมส์ เวบบ์ ของ NASA (12 ก.ค. 2565) NASA ได้ทำการเปิดเผย ภาพถ่ายจักรวาล ที่ดำเนินการถ่ายผ่านทางกล้องดูดาวอวกาศ เจมส์ เวบบ์ (James Webb Space Telescope) ที่ซึ่งถือว่ามีความลึก และคมชัดที่สุด โดยภาพดังกล่าวนั้นถูกเรียกว่า Webb’s First Deep Field

ภาพถ่ายดังกล่าวนั้น เป็นภาพถ่ายของกลุ่มจักวาล SMACS 0723 ที่ประกอบไปจักรวาลย่อยนับร้อย รวมไปถึงวัตุที่อยู่ห่างออกไปอย่างไกลที่สุดเท่าที่จะสามารถมองเห็นได้โดยอินฟราเรด รวมถึงที่เพิ่งปรากฏบนกล้องเวบบ์ครั้งแรกอีกด้วย

ภาพถ่าย Webb’s First Deep Field นั้น ถูกถ่ายโดยการใช้งาน Near-Infrared Camera (NIRCam) ของกล้องดูดาวอวกาศ เจมส์ เวบบ์ ซึ่งจะทำงานผ่านการรวบรวมภาพต่าง ๆ จากในหลายหลายรูปแบบ โดยจะใช้เวลาในการประมวลผลผลิตภาพอยู่ที่ 12.5 ชม. ทำให้ถือว่าเร็วกว่าภาพถ่ายจากกล้องดูดาวฮับเบิลที่ต้องใช้เวลาเป็นหลายสัปดาห์

ในส่วนของกลุ่มจักรวาลที่ปรากฏในภาพ – SMACS 0723 นั้น ก็อยู่ห่างจากระบบสุริยะจักรวาลของเราถึง 4.6 ล้านปี (ระยะเวลาการเดินทาง) และอย่างที่กล่าวไปข้างต้น มันก็เป็นรวมตัวกันของจักรวาลย่อย ๆ อีกร้อย พร้อมทั้งกลุ่มดาว และอื่น ๆ ที่ซึ่งบรรดานักวิจัยต่างเริ่มที่จะศึกษาเพื่อให้ทราบถึงสิ่งเหล่านี้ให้มากขึ้น

ซูเปอร์ฟูลมูน คืออะไร หลังสถาบันวิจัยดาราศาสตร์ฯ ชวนจับตา 13 ก.ค. นี้

ซูเปอร์ฟูลมูน คืนวันอาสาฬหบูชา ปรากฏการณ์บนท้องฟ้า 2565 สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ NARIT ชวนจับตาปรากฏการณ์ดวงจันทร์เต็มดวงใกล้โลกที่สุดในรอบปี 13 ก.ค. นี้ วันที่่ 7 กรกฎาคม 2565 เฟซบุ๊กแฟนเพจ NARIT สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ ออกมาให้ข้อมูลเกี่ยวกับ ปรากฏการณ์ดวงจันทร์เต็มดวงใกล้โลกที่สุดในรอบปี หรือ ซูเปอร์ฟูลมูน (Super Full Moon) พร้อมกับเชิญชวนประชาชนที่สนใจรับชมปรากฏการณ์ในรอบปีนี้ในวันที่ 13 ก.ค.ที่จะถึงนี้

โดยข้อความจากโพสต์ของสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ ระบุว่า 13 ก.ค. นี้ ชวนจับตา #ซูเปอร์ฟูลมูน หรือ #ดวงจันทร์เต็มดวงใกล้โลกที่สุดในรอบปี ในคืนอาสาฬหบูชา ในวันพุธที่ 13 กรกฎาคม 2565 ซึ่งตรงกับวันอาสาฬหบูชา ดวงจันทร์จะโคจรมาอยู่ในตำแหน่งใกล้โลกที่สุด ห่างจากโลก 357,256 กิโลเมตร เวลาประมาณ 16:09 น. และจะปรากฏเต็มดวงในคืนดังกล่าวในช่วงหลังเที่ยงคืน เวลา 01:39 น. ของวันที่ 14 กรกฎาคม 2565 เกิดเป็นปรากฏการณ์ “ดวงจันทร์เต็มดวงใกล้โลกที่สุดในรอบปี” หรือ ซูเปอร์ฟูลมูน (Super Full Moon) หากเปรียบเทียบกับดวงจันทร์เต็มดวงช่วงเวลาปกติ จะมีขนาดใหญ่กว่าประมาณ 7% และสว่างกว่าประมาณ 16%

ในคืนวันที่ 13 กรกฎาคม 2565 จึงเหมาะแก่การสังเกตการณ์ดวงจันทร์เต็มดวงเป็นอย่างยิ่ง ดวงจันทร์เต็มดวงจะมีขนาดปรากฏใหญ่ และสว่างกว่าปกติเล็กน้อย วันดังกล่าวดวงจันทร์จะโผล่พ้นขอบฟ้าเวลาประมาณ 18.37 น. สังเกตได้ด้วยตาเปล่าทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ สำหรับผู้ที่สนใจถ่ายภาพ คืนดังกล่าวยังเหมาะแก่การถ่ายภาพดวงจันทร์ โดยเฉพาะการถ่ายภาพด้วยเทคนิค “Moon illusion” ด้วยเลนส์เทเลโฟโต เป็นการถ่ายภาพดวงจันทร์เปรียบเทียบกับวัตถุบริเวณขอบฟ้า ทำให้เกิดภาพลวงตาเสมือนว่าดวงจันทร์มีขนาดใหญ่และอยู่ใกล้โลกมาก ผู้สนใจสามารถรอชมและเก็บภาพความสวยงามได้ตลอดทั้งคืนจนถึงรุ่งเช้า

ดวงจันทร์โคจรรอบโลกเป็นรูปวงรี 1 รอบ ใช้ระยะเวลาประมาณ 1 เดือน ดังนั้น ในแต่ละเดือนจะมีตำแหน่งที่ดวงจันทร์ใกล้โลกที่สุดเรียกว่า เปริจี (Perigee) มีระยะทางเฉลี่ย 357,000 กิโลเมตร และตำแหน่งที่ไกลโลกที่สุดเรียกว่า อะโปจี (Apogee) มีระยะทางเฉลี่ยประมาณ 406,000 กิโลเมตร การที่ผู้คนบนโลกมองเห็นดวงจันทร์มีขนาดปรากฏใหญ่กว่าปกติเล็กน้อยในคืนที่ดวงจันทร์ใกล้โลกที่สุดในรอบปี นับเป็นเหตุการณ์ปกติที่สามารถอธิบายได้ตามหลักการทางวิทยาศาสตร์

Credit : แนะนำสถานที่ท่องเที่ยว | แต่งบ้านและสวน | พระเครื่อง | รีวิวกล้องถ่ายรูป